หัวข้อที่ ๑ กระบวนการเรียนรู้ของมนุษย์
การเรียนรู้ของผู้ใหญ่(Adult Learning)
Learning Style |
Learning Style
DO
Concrete Experience |
ต้องการรูปธรรมชัดเจน/ ไม่ชอบนามธรรม
เอาความรู้สึกของตนเป็นที่ตั้ง
Reflective Observation |
Active Experimentation |
ชอบทดลอง/ ไม่ชอบการเลียนแบบ สังเกต/ ต้องการเวลา
หาเอกลักษณ์ของตัวเอง เพื่อสังเกต เก็บข้อมูล
Abstract Conceptualization |
THINK
ชอบคิด ชอบถกเถียง
วิเคราะห์อย่างมีระบบ
การเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์
(Experiential Learning)
เอื้ออำนวยให้เกิด
สถานการณ์หรือบรรยากาศ
ที่นำไปสู่กระบวนการเรียนรู้
EXPERIENCING
นำวิธีการเรียนรู้มา ได้วิเคราะห์
ประยุกต์ใช้ ปัญหา
APPLY PROCESSING
ประสบการณ์จำลอง
สัมพันธ์กับประสบการณ์ในชีวิตอย่างไร
GENERALIZATION
จิตวิทยาการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
1. ผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์กว้างขวาง มีบทเรียนชีวิตมากมาย จะเรียนรู้ได้ดีจากเพื่อน ดังนั้นนักฝึกอบรมควรกระตุ้นให้เขาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสร้างสถานการณ์ให้เขาได้สนทนากับบุคคลอื่น ให้เขานั่งล้อมวง ซึ่งสามารถเห็นบุคคลอื่น เพื่อที่จะพูด ฟัง และสบตาคู่สนทนาได้
2. ผู้ใหญ่มีความสนใจ และเรียนรู้อย่างรวดเร็วในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับตัวเขา ดังนั้น ผู้ฝึกอบรมต้องสร้างสถานการณ์ให้เขาได้แลกเปลี่ยนและวางแผน กำหนดประเด็น และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาเป็นผู้ร่วมประเมินผลสิ่งที่เขาทำด้วย
3. ผู้ใหญ่(เด็กก็เช่นกัน)เป็นมนุษย์ที่มีศักดิ์ศรี เขาจะต้องถูกกระทำด้วยความเคารพ และไม่ควรทำให้เขารู้สีกว่า ถูกลดเกียรติหรือหัวเราะเยาะต่อหน้าคนอื่น
การเรียนรู้ได้ดีที่สุด
· สนใจ
· ตรงกับความต้องการ
· มีพื้นฐานความรู้เดิมและประสบการณ์
· ไม่ขัดกับธุระของเขา เวลาเหมาะสม
· ชอบ
· พร้อม เตรียมพร้อมทั้งจิตใจและร่างกาย
· พยายามต้องการจะรับ
· คุ้นเคยกับสมาชิก
· บรรยากาศดี
· ยอมรับโดยส่วนตัว บุคคล
· มีความเชื่อมั่นในตนเอง
· ไม่มีกฎเกณฑ์มากนัก
· มีตัวอย่างของความสำเร็จให้เห็น
· เมื่อมีโอกาสได้ปฏิบัติ มีการสาธิตประกอบ
· ความยากง่ายเหมาะสม
· มีโอกาสคิด วิเคราะห์ด้วยตนเอง
ลักษณะการเรียนรู้ที่เหมาะสม
มีกิจกรรมร่วมกัน และต้องมีความใกล้ชิดสนิทสนม การเสริมกระบวนการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนา การทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา สิ่งสำคัญคือนักพัฒนาต้องรู้ถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของคน
จุดตัดสินใจเรียนรู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคนในงานพัฒนาได้นั้น สิ่งสำคัญคือ
· ไม่สามารถอยู่กับการทดลองหรือเสี่ยงกับความไม่แน่นอน
· ขึ้นอยู่กับความมั่นใจในการตัดสินใจ
โดยมีปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบของการตัดสินใจที่สำคัญ และต้องคำนึงถึง คือ
· ปัจจัยภายใน ตัวของมเป็นเขาเอง ความเป็นมา ครอบครัว ลักษณะส่วนตัว ความอยาก ความต้องการของตนเอง
· ปัจจัยภายนอก เช่น สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณีต่างๆ สถานการณ์ปัญหา อันมีส่วนสัมพันธ์กับภายนอก
เนื้อหาที่ 2 : ภาพรวมกระบวนการเรียนรู้
ภาพรวมกระบวนการเรียนรู้
1. การประเมินปัญหา/ ความต้องการ (คัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย |
OK |
4. เลือก/ กำหนดวิธีการสื่อ |
2. กำหนดวัตถุประสงค์ |
3. เลือก/ กำหนดเนื้อหา (การออกแบบเนื้อหา) |
5. ดำเนินการ |
6. ประเมินผล |
7. ติดตามผล |
20200000000000007
870020539
กระบวนการการเรียนรู้
ประกอบไปด้วยการดำเนินงานใน 7 ขั้นตอนหลัก ซึ่งสามารถแบ่งเป็นช่วงระยะการดำเนินการได้ 3 ช่วงหลัก ทั้งนี้โดยมีการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการงานฝึกอบรมสัมพันธ์และครอบคลุมอยู่ในทุกช่วงระยะของการทำงาน ในการดำเนินการใน 3 ช่วงระยะของการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีดังนี้
1. ช่วงก่อนเริ่มรายการเรียนรู้ (ก่อน)
การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย/ การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
· การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการเรียนรู้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- มีความต้องการเข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้
- มีความสนใจในการเรียนรู้
- เนื้อหาของการฝึกอบรมสอดคล้องกับภารกิจ
- ไม่มีปัญหาโรคภัยไข้เจ็บที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เช่น เป็นไข้จับสั่น ปวดฟันอย่างรุนแรง ฯ
· การประเมินปัญหาและความต้องการของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้สามารถดำเนินการได้ ตามขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
- ใช้แบบสอบถามประเมินปัญหาและความต้องการ
- คณะทำงานจัดการเรียนรู้จัดประชุมปรึกษาหารือ และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถาม
- วิเคราะห์และหาข้อสรุปเกี่ยวกับความต้องการในการเรียนรู้
* จำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ว่า จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นมีกรณีไหนบ้างที่แก้ไขได้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวทำได้โดยการสอบถาม/ตรวจสอบกับแต่ละปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นเกิดขึ้นจากสาเหตุใด เช่น การขาดความรู้ ขาดทักษะ หรือเป็นเรื่องทัศนคติมุมมอง ความเข้าใจ ฯลฯ
* นอกเหนือจากเหตุผลข้างต้น ปัญหาในการทำงานบางอย่างไม่อาจแก้ไขได้โดยการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ เพียงอย่างเดียว การเรียนรู้จะสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ ก็จำเป็นต้องทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมาย ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายเพิ่มเติมว่าต้องการการเรียนรู้เรื่องอะไรที่เฉพาะเจาะจงลงไป สิ่งนำไปสู่การเลือกใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมต่อไป
* วิธีการที่จะให้ทราบความต้องการในการเรียนรู้ที่ทำได้ง่ายและเร็วคือ การใช้แบบสอบถามในเนื้อเรื่องที่ต้องการเรียนรู้ ซึ่งข้อมูลที่ได้จะต้องนำไปเป็นพื้นฐานในการกำหนดเนื้อหา หัวข้อเรื่องที่จะจัดกิจกรรมการเรียนรู้
* ในบางกรณี ฝ่ายบริหารอาจจะเป็นฝ่ายกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะต้องจัดทำขึ้น ซึ่งทางที่ดีก่อนตัดสินใจ ควรมีตัวแทนของกลุ่มบุคคลว่าเป็นกลุ่มเป้าหมาย มาร่วมให้ข้อมูลก่อนตัดสินใจ
* การจะทำงานจัดกระบวนการเรียนรู้ในบางกรณีจะต้องร่วมกับกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่ต้น ตั้งแต่การวางแผน ไปสู่การออกแบบเนื้อหาการเรียนรู้ บางครั้งผั้เข้าร่วมอาจจะเป็นคนเก็บรวบรวมข้อมูลเอง จากนั้นก็พัฒนาวิเคราะห์ กำหนดแนวและออกแบบการฝึกอบรม บทบาทของคณะจัดฝึกอบรมเป็นแค่ผู้อำนวยความสะดวกเท่านั้น
การกำหนดวัตถุประสงค์
ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะต้องนำมาใช้ในการกำหนดวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งจำเป็นที่ต้องมีความเฉพาะเจาะจง คุณลักษณะที่ดีของการกำหนดวัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม คือ วัตถุประสงค์จะต้อง
· มีความเฉพาะเจาะจง
· วัดผลได้
· มีความเป็นไปได้ที่จะสำเร็จ
· ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นจริง
· มีกำหนดเวลาที่แน่นอน
การเลือก/ กำหนดเนื้อหา
การออกแบบเนื้อหา เป็นเอกสารอธิบายแนวคิดและเนื้อหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นว่าเป็นอย่างไร และจะดำเนินการอย่างไร คณะผู้จัดการเรียนรู้ จำเป็นที่จะต้องแสดงแก่
· ผู้บริหาร ให้เป็นถึงเหตุผลและความจำเป็นที่จะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้
· ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินลุล่วงไป
- เปรียบเทียบผลที่ได้กับวัตถุประสงค์
- เปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการเรียนรู้ได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
- สรุปประเด็นเนื้อหาการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
- สรุปประจำวัน : ประมวลข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข
- ก่อนฝึกอบรม : ควรมีเวลาที่จะอภิปรายร่วมกันถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมในเรื่องต่างๆ เช่น รายการเรียนรู้ เวลา ภารกิจของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติ
- ประมวลสรุปสาระทั้งหมด : เปิดอภิปรายประเด็นที่ตกค้าง
· ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ควรจะแสดงวัตถุประสงค์และรายละเอียดของกิจกรรมการเรียนรู้ และจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะผู้จัดกระบวนการเรียนรู้จะต้องจัดทำเนื้อหาการเรียนรู้
- ให้มีความยืดหยุ่น สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
- การออกแบบการเรียนรู้ควรที่จะมีความชัดเจน
- มีความสมบูรณ์ มีรายละเอียดต่างๆ ที่ต้องการ
- เนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนรู้จะต้องสอดคล้องและสามารถบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
การเลือก/ กำหนดวิธีการสื่อ
การเลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสม ควรคำนึงถึงสิ่งสำคัญต่อไปนี้
· เหมาะสมกับเนื้อหา
· เหมาะสมกับเวลาที่มี
· มีความคุ้มค่าในการใช้งาน
· สามารถหาวัสดุอุปกรณ์ได้
· เหมาะสมกับสภาพการเรียนรู้ของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้
· ผู้ดำเนินการมีความคุ้นเคยและมีทักษะในการใช้วิธีการนั้นๆอย่างเพียงพอ
· เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมหรือสถานที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้
· สามารถนำไปสู่การเรียนรู้ร่วมกันของผู้ร่วมเรียนรู้
2. ช่วงระหว่างการดำเนินการกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ (ระหว่าง)
การดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้
ภารกิจต่างๆ ในช่วงระหว่างการดำเนินการกิจกรรมการเรียนรู้ มีดังนี้
· คณะผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ควรจะมาก่อนเวลาเพื่อตรวจสอบความพร้อมของสถานที่และวัสดุอุปกรณ์สิ่งของที่ต้องใช้สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ และต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้และทรัพยากรบุคคล
· เริ่มให้ตรงเวลา (ถ้าช้าควรให้เหตุผลที่ชัดเจน)
· บางกรณีอาจจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ บางกรณีไม่จำเป็น พิจารณาตามความเหมาะสม
· ดำเนินกิจกรรมอุ่นเครื่อง เพื่อเข้าสู่บทเรียน เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้เกิดความชัดเจนกับผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ ในวัตถุประสงค์การเรียนรู้ สร้างความเข้าใจในความคาดหวัง กำหนดการและการอยู่ร่วมกันในระหว่างการเรียนรู้ เช่น ที่พัก รับประทานอาหาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน
· การจัดกิจกรรมที่สามารถสร้างการมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศที่ดี และเปิดโอกาสการแลกเปลี่ยน แสดงข้อคิดเห็นอยู่เสมอ
· เสริมสร้างการทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่มๆ
· จัดตั้งตัวแทนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ร่วมเป็นคณะทำงานและคณะผู้จัด เพื่อเป็นกลไกรับทราบความคิดเห็นของผู้ร่วมการเรียนรู้ต่อความพึงพอใจ ปัญหาอุปสรรค เรื่องที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมการเรียนรู้
· สรุป/ทบทวนสาระและกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านมาก่อนเริ่มสาระและกิจกรรมใหม่
· การตรวจสอบทิศทาง/เป้าหมาย
- ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินลุล่วงไป
- เปรียบเทียบผลที่ได้กับวัตถุประสงค์
- เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้
- สรุปประจำวัน: ประมวลข้อคิดเห็นต่อการปรับปรุงแก้ไข
- ก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ : ควรมีเวลาที่จะอภิปรายร่วมกันถึงความเหมาะสมและไม่เหมาะสมในภารกิจของผู้ร่วมกระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำไปสู่การปรับให้เหมาะสม
- ประมวลสรุปสาระทั้งหมด : เปิดอภิปรายประเด็นที่ตกค้าง
· การสังเกตกระบวนการเรียนรู้ คือการจัดกลไกในการเฝ้าดูแลและสังเกตความเคลื่อนไหวต่างๆ ในระหว่างการฝึกอบรม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้จัดฝึกอบรมได้รับรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างการฝึกอบรม ทั้งในแง่มุมที่เป็นผลดีและแง่มุมต่างๆ ตลอดจนคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรมประเด็นสำคัญในการสังเกตกระบวนการฝึกอบรมคือ เรื่อง ความเหมาะสมในการใช้เวลา ความสนใจของผู้เข้าร่วมอบรม ความชัดเจนจากเนื้อหา การใช้ภาษาของวิทยากร การใช้สื่อ การมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
· การประเมินผลร่วมกันและปิดกิจกรรมการเรียนรู้
- การประมวลสาระเนื้อหาทั้งหมดของการเรียนรู้
- ในกรณีที่มีการมอบหมายประกาศนียบัตร ต้องมีเตรียมการล่วงหน้า และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร
- จัดทำรายชื่อ ที่อยู่ ของผู้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ให้แก่ทุกคน
- ถ่ายรูปร่วมกัน
· การจัดทำเอกสาร
งานเอกสารควรเตรียมการให้พร้อม ในแต่ละเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องในระหว่างกิจกรรมการเรียนรู้ ควรมีการจัดเก็บข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรมในแต่ละช่วงเพื่อจัดพิมพ์และแจกจ่ายให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ได้ทันที ในระหว่างรายการเรียนรู้
3. ช่วงหลังการดำเนินการกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ (หลัง)
การประเมินผล
การประเมินผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือการตรวจสอบและประเมินความสำเร็จ/ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ว่าสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ของผู้เข้าร่วมได้เพียงไร และผู้เข้าร่วมสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปประยุกต์ใช้ได้หรือไม่ อย่างไร
นักจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีควรให้ความสำคัญในการประเมินผล ทั้งนี้เพื่อทราบผลของการจัดกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ว่าบรรลุผลหรือไม่ และหาข้อดี ข้อบกพร่องต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุง ตลอดจนเพื่อขยายผล เผยแพร่ แลกเปลี่ยน สรุปรายงาน หรือวางแผนการจัดการเรยนรู้ในครั้งต่อไป
การประเมินผลทำได้ในช่วงก่อน ระหว่าง หลัง (หลังจากที่กระบวนการเรียนรู้เสร็จลงทันที และหลังจากจัดกระบวนการเรียนรู้เสร็จสิ้นไปแล้วระยะหนึ่ง) โดยองค์ประกอบผู้ทำการประเมินผลแบบมีส่วนร่วมนั้น ประกอบไปด้วย ผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ผู้จัด วิทยากร ผู้สังเกตการณ์ นอกจากนี้ยังสามารถเชิญผู้มีความรู้ความเข้าใจและเป็นกลางมาร่วมประเมินผลได้ด้วย เช่น ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคคลภายนอก ผู้บริหาร ฯลฯ
แนวทางในการประเมินผลมีขอบข่ายในการพิจารณา ดังนี้
· ประเมินผลที่เกิดขึ้นจาการจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยพิจารณาตามวัตถุประสงค์ของโครงการในแต่ละข้อว่าบรรลุหรือไม่ และมากน้อยเพียงไร ทั้งนี้วัตถุประสงค์ของโครงการฝึกอบรมที่กำหนดขึ้นควรจะเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
· พิจารณาจากคุณค่า/คุณภาพของกิจกรรมที่จัดในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งมีประเด็นในการประเมิน ดังนี้
1. การสร้างเนื้อหา เช่น การกำหนด/ คัดเลือกเนื้อหาสอดคล้องหรือไม่ การจัดลำดับเนื้อหาเป็นอย่างไร การกำหนดวัตถุประสงค์ การออกแบบ การกำหนดวิธีการ/สื่อ การใช้เวลา ฯลฯ
2. กระบวนการ/บรรยากาศในการจัด เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมกระบวนการเรียนรู้ด้วยกันเอง ความสามารถของวิทยากร ความเหมาะสม การใช้วิธีการในการจัดกระบวนการเรียนรู้ ฯลฯ
3. การบริหารและการจัดการกระบวนกาเรียนรู้ เช่น อาหาร ที่พัก ห้องประชุม การบริการต่างๆ การเดินทาง
สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
4. การเตรียมความพร้อมของผู้เข้าร่วมฯ เช่น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ การสร้างแรงจูงใจ การหาความคาดหวังของผู้เข้าร่วม ฯลฯ
5. การสนับสนุนหลังการจัดกระบวนการเรียนรู้ เช่น การติดตามเยี่ยมเยียน แนวทางการสนับสนุนต่างๆ การพัฒนาเนื้อหา หลักสูตรต่อเนื่อง ฯลฯ
6. การเปลี่ยนแปลงในตัวผู้เข้าร่วมฯ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ เช่น ความรู้ ทักษะ ทัศนคติ และการนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ
วิธีการประเมินผล มีขั้นตอนหลักที่สำคัญ ดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผล
- ความต้องการในการใช้ผลการประเมิน (จะนำไปใช้ประโยชน์อะไร และเพื่อใคร)
- ลักษณะของโครงการ (วัตถุประสงค์/รายละเอียด)
2. กำหนดขอบเขตและตัวชี้วัด
3. แตกประเด็นในแต่ละขอบเขต
4. เลือกรูปแบบที่เหมาะสม
5. สร้างเครื่องมือ
6. ใช้เครื่องมือ
7. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้
8. จัดทำรายงานการประเมินผล
ตัวอย่างรูปแบบ/เครื่องมือต่างๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินผลในแต่ละช่วงของการเรียนรู้มีดังนี้
· ช่วงหลังการฝึกอบรม เช่น แบบทดสอบ (POST-TEST) แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
· แบบวิเคราะห์การทำงาน ประชุม (กลุ่มย่อย/กลุ่มใหญ่) ติดต่อสอบถามผู้บังคับบัญชาหรือผู้เกี่ยวข้อง ฯลฯ
การติดตามผล
การติดตามผลการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือการติดต่อ/สื่อสาร/ สนับสนุนที่ต่อเนื่องภายหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่างผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ ผู้ร่วมการเรียนรู้ และองค์กรของผู้เข้าร่วมการเรียนรู้ด้วย ภารกิจหลักที่สำคัญในช่วงการติดตามผล มีดังนี้
1. ทำโครงการติดตามผล โดยมีองค์กรประกอบในตัวโครงการ คือ ชื่อโครงการ จุดมุ่งหมาย แผนงาน
กิจกรรม ผลที่คาดว่าจะได้รับ
2. ทำตารางบันทึกความก้าวหน้าของการติดตาม
3. หาข้อมูลตกลงกันเรื่องวัน/เวลา นัดหมายเพื่อการติดตาม
4. ออกติดตามตามกำหนดเวลานัดหมาย
5. สรุปบทเรียนร่วมกัน (เช่น ประชุม/สัมมนา/ทำรายงาน ฯลฯ)
6. วางแผนงานต่อไป
เนื้อหาที่ 3 : คุณสมบัติและบทบาทวิทยากรกระบวนการ
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
kb
http://camp02.blogspot.com/ camp02
http://kb1951.blogspot.com/ park
http://kbparks.blogspot.com/ kbpark
http://word1951.blogspot.com/ wordpress
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น